โรคเบาหวาน ข้อควรระวัง และลักษณะของโรค

โรคเบาหวาน

เบาหวาน เป็นความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงหรือต่ำเกินไปจนทำให้เกิดภาวะฉุกเฉินต่อร่างกาย[2] โรคนี้มีความรุนแรงสืบเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่าง เหมาะสม โดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของ ฮอร์โมนอินซูลิน ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้

เบาหวาน

เบาหวาน

เบาหวาน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

  • โรคเบาหวานชนิดที่ 1 สาเหตุของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลายเซลล์ที่สร้างอินซูลินในตับอ่อน ทำให้ร่างกายหยุดการสร้างอินซูลิน ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดระยะยาว แม้นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถอธิบายอย่างแน่ชัดว่า ทำไมภูมิคุ้มกันของร่างกายจึงทำลายเซลล์ของตับอ่อน แต่เราก็ทราบว่าปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงให้กับโอกาสการเกิดโรคเบาหวานชนิด ที่ 1 คือ การได้รับสารพิษ,การติดเชื้อ, การแพ้นมวัวโดยเฉพาะในเด็กเล็ก
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2 สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำหนักตัวมาก การขาดการออกกำลังกาย และวัยที่เพิ่มขึ้น เซลล์ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร่างกายยังคงมีการสร้างอินซูลิน แต่ทำงานไม่เป็นปกติเนื่องจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เซลล์ที่สร้างอินซูลินค่อยๆถูกทำลายไป บางคนเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนโดยไม่รู้ตัว และต้องการยาในการรับประทาน และบางรายต้องใช้อินซูลินชนิดฉีด เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด

อาการแทรกซ้อน

  • ภาวะแทรกซ้อนทางสายตา (Diabetic retinopathy)

เกิดจากการที่น้ำตาลเข้าไปใน endothelium ของ หลอดเลือดเล็กๆ ในลูกตา ทำให้หลอดเลือดเหล่านี้มีการสร้างไกลโคโปรตีนซึ่งจะถูกขนย้ายออกมาเป็น Basement membrane มากขึ้น ทำให้ Basement membrane หนา แต่เปราะ หลอดเลือดเหล่านี้จะฉีกขาดได้ง่าย เลือดและสารบางอย่างที่อยู่ในเลือดจะรั่วออกมา และมีส่วนทำให้ Macula บวม ซึ่งจะทำให้เกิด Blurred vision หลอดเลือดที่ฉีกขาดจะสร้างแขนงของหลอดเลือดใหม่ออกมามากมายจนบดบังแสงที่มา ตกกระทบยัง Retina ทำให้การมองเห็นของผู้ป่วยแย่ลง

  • ภาวะแทรกซ้อนทางไต (Diabetic nephropathy)

พยาธิสภาพของหลอดเลือดเล็กๆ ที่ Glomeruli จะทำให้ Nephron ยอมให้ albumin รั่วออกไปกับ filtrate ได้ Proximal tubule จึงต้องรับภาระในการดูดกลับสารมากขึ้น ซึ่งถ้าเป็นนานๆ ก็จะทำให้เกิด Renal failure ได้ ซึ่งผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตภายใน 2- 3 ปี นับเข้าสู่ภาวะไตวายระยะสุดท้าย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี

  • ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท (Diabetic neuropathy)

หากหลอดเลือดเล็กๆ ที่มาเลี้ยงเส้นประสาทบริเวณปลายมือปลายเท้าเกิดพยาธิสภาพ ก็จะทำให้เส้นประสาทนั้นไม่สามารถนำความรู้สึกต่อไปได้ เมื่อผู้ป่วยมีแผล ผู้ป่วยก็จะไม่รู้ตัว และไม่ดูแลแผลดังกล่าว ประกอบกับเลือดผู้ป่วยมีน้ำตาลสูง จึงเป็นอาหารอย่างดีให้กับเหล่าเชื้อโรค และแล้วแผลก็จะเน่า และนำไปสู่ Amputation ในที่สุด

อาการแทรกซ้อน

อาการแทรกซ้อน

กลุ่มเสี่ยง
โรคทางพันธุกรรมคือมีญาติเป็นโรคเบาหวาน โอกาสเสี่ยงก็มีมาก หากเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 อายุที่มากขึ้นก็เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยง รวมถึงผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย บริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานประเภทที่ 1
มักมีอายุน้อย ไม่อ้วน ส่วนประเภทที่ 2 มักตัวใหญ่ อายุมาก น้ำหนักเยอะ

 อาการที่พึงระวัง
เป็นหวัด ไอ ปัสสาวะบ่อย (มากกว่า 4 ครั้งต่อวัน) คอแห้งและดื่มน้ำมากผิด ปกติ อาการเหล่านี้เกิดจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง อาการหน้าบวมจะเกิด เมื่ออยู่ในระยะท้ายๆ

ลักษณะของโรคเบาหวาน
ไอ ดื่มน้ำมา ปัสสาวะบ่อย
โรคเบาหวานเป็นโรคที่ผู้ป่วยมีน้ำตาลในเลือดสูง แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ที่เรารู้จักกันดีก็คือ เบาหวานประเภทที่  2
ซึ่งส่วนใหญ่คนที่เป็นเบาหวานในกลุ่มนี้จะเป็นคนที่รับประทานเยอะ รูปร่างจึงมักจะอ้วนเกินมาตรฐาน ส่วนเบาหวานประเภทที่ 1 เป็นเบาหวานที่พบ ได้น้อยมาก และไม่เกี่ยวกับการใช้ชีวิต แต่พบได้ในกรณีที่ขาดอินซูลินอย่างสิ้นเชิง
อินซูลินเป็นฮอร์โมนประเภทหนึ่ง ผลิตจากตับอ่อนในระบบธรรมชาติ คือเส้นทาง เดินอาหาร เมื่อรับประทานอาหารประเภทแป้ง  คาร์โบไฮเดรตจะถูกย่อยสลายในระบบทางเดินอาหาร และนำไปใช้สร้างพลังงานในการ ดำรงชีวิต เช่น ใช้ในการหายใจ กะพริบตา ในภาวะปกติอินซูลินคือตัวที่นำ กลูโคสไปในเซลล์นั้นๆ เซลล์ไม่สามารถใช้กลูโคสได้หากไม่มีอินซูลิน ในภาวะพร่องอินซูลิน เซลล์ไม่สามารถนำพลังงานไปใช้ได้เลย  ถ้าเป็นอวัยวะสำคัญเช่น สมอง หากสมองเกิดการขาดพลังงานโดยเฉียบพลัน ถึงทาน อาหารเยอะก็ไม่สามารถนำพลังงานไปใช้ได้ ทำให้น้ำตาลในเลือดล้น
ธรรมดาแล้วการรับประทานอาหารปกติ เมื่อร่างกายดูดซึมพลังงาน อินซูลินนำ กลูโคสไปยังเซลล์ การพร่องอินซูลิน ทำให้ร่างกายใช้พลังงานจากกลูโคสไม่ ได้ จึงดึงไขมันและกล้ามเนื้อมาย่อยสลายเกิดการเผาผลาญไขมัน คนไข้จึงน้ำ หนักลด ซึ่งน้ำหนักจะลดลงอย่างรวดเร็วอย่างมีนัยสำคัญ ประมาณ 10%ของน้ำหนัก เริ่มต้น ภายในระยะเวลาอันสั้น รวมกับโปรตีนจากกล้ามเนื้อจะถูกนำมาย่อยสลาย ชดเชย  น้ำตาลที่ไม่ได้ใช้จึงล้นอยู่ในหลอดเลือด จนเลือดกลายเป็นน้ำหวาน  น้ำเชื่อมเมื่อไปถึงไต  ไตกรองเอาน้ำเชื่อมน้ำหวานออกไป ปัสสาวะจึงมีน้ำตาล  เมื่อเป็นโรคนี้ตับอ่อนจะใช้เวลาในการถูกทำลายหลายปี แต่ก็มีบางกรณีที่ตับ อ่อนถูกทำลายอย่างรวดเร็ว ไม่กี่วัน  ซึ่งจะทำให้เสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วเช่นกัน

สำหรับเบาหวานแบบที่ 1 กับโรคหวัดนั้น เมื่อเป็นไข้หวัด ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสมากกว่าแบคทีเรีย ไวรัสจากลมหายใจจะเข้าสู่กระแสเลือด อาจไปทำลายตับอ่อนจนตับอ่อนหยุดทำงานได้ เมื่อไม่มีอินซูลินในร่างกาย ก็เกิดผลแทรกซ้อน เกลือแร่ไม่สมดุล อวัยวะต่าง ๆ เสียการทำงาน และเสียชีวิตในที่สุด

จากการสำรวจทั่วโลกเมื่อปี 2550 พบผู้ป่วยโรคเบาหวานถึง 246 ล้านคน เป็นชาวเอเชียถึง 4 ใน 5 ของคนทั่วโลก

วิธีการรักษาโรคเบาหวาน
เบาหวานถือเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง  นอกจากจะรักษาตามแผนการรักษาที่แพทย์ให้แล้ว ยังต้องตรวจเป็นระยะ ๆ เช่น ตรวจตา ตรวจไต ตรวจหัวใจ ตรวจเท้าแล้ว ยังต้องอาศัยการปฏิบัติตนของผู้ป่วย เช่น การควบคุมอาหาร แต่ยังทานอาหารครบ 5 หมู่ ห้ามทานของหวาน ขนม และน้ำอัดลม ต้องจำกัดอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการสำหรับคนเป็น เบาหวาน และต้องหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

รู้ไว้ ไกลโรค
1.  ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถมีชีวิตอยู่อย่างยืนยาวได้ หากปฏิบัติตนตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด
2.  ถ้าไม่รักษาเบาหวานเป็นระยะเวลา 3-5 ปี จะมีภาวะแทรกซ้อนในหลายระบบ เพราะความผิดปกติของระบบตา ระบบหลอดเลือดแดง จะส่งผลไปยังระบบอวัยวะที่หลอดเลือดแดงไปหล่อเลี้ยง เช่น สมอง ประสาท หัวใจ ไต และตา ซึ่งอาจทำให้ตาบอดได้

***อินซูลินที่ลดน้อย ไม่สามารถดักจับน้ำตาลได้ ทำให้เกิดความผิดปกติขึ้นในร่างกาย แม้แต่เซลล์สมองก็ไม่สามารถดักจับน้ำตาลไว้ได้***

แพทย์ผู้ให้ข้อมูล : แพทย์หญิง รุ่งอรุณ  สันทัดกลการ  อายุรแพทย์-ผู้อำนวยการแพทย์ โรงพยาบาลพญาไท 1

Advertisement

1 Comment

  1. Replica rolex พูดว่า:

    Hi, all the time i used to check webpage posts here early in the morning, for the reason that i love to gain knowledge of more and more.

Leave a Comment

 

— required *

— required *