เบาหวาน

โรคเบาหวาน ข้อควรระวัง และลักษณะของโรค

โรคเบาหวาน เบาหวาน เป็นความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงหรือต่ำเกินไปจนทำให้เกิดภาวะฉุกเฉินต่อร่างกาย[2] โรคนี้มีความรุนแรงสืบเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่าง เหมาะสม โดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของ ฮอร์โมนอินซูลิน ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เบาหวาน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 สาเหตุของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลายเซลล์ที่สร้างอินซูลินในตับอ่อน ทำให้ร่างกายหยุดการสร้างอินซูลิน ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดระยะยาว แม้นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถอธิบายอย่างแน่ชัดว่า ทำไมภูมิคุ้มกันของร่างกายจึงทำลายเซลล์ของตับอ่อน แต่เราก็ทราบว่าปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงให้กับโอกาสการเกิดโรคเบาหวานชนิด ที่ 1 คือ การได้รับสารพิษ,การติดเชื้อ, การแพ้นมวัวโดยเฉพาะในเด็กเล็ก โรคเบาหวานชนิดที่ 2 สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำหนักตัวมาก การขาดการออกกำลังกาย และวัยที่เพิ่มขึ้น เซลล์ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร่างกายยังคงมีการสร้างอินซูลิน แต่ทำงานไม่เป็นปกติเนื่องจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เซลล์ที่สร้างอินซูลินค่อยๆถูกทำลายไป บางคนเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนโดยไม่รู้ตัว และต้องการยาในการรับประทาน และบางรายต้องใช้อินซูลินชนิดฉีด เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด อาการแทรกซ้อน ภาวะแทรกซ้อนทางสายตา [...]

โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน ข้อควรระวัง และลักษณะของโรค

โรคกระดูกพรุน กลุ่มเสี่ยง พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุทั้งชายและหญิง  ผู้ที่ชอบออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาหนัก ๆ รวมถึงคนที่เคยกระดูกหักมาแล้ว   อาการที่พึงระวัง คนที่เคยกระดูกหักมาแล้ว  มีโอกาสที่จะเกิดโรคกระดูกหักได้อีก  หรือมีอาการเจ็บที่ต้นขาหรือข้อพับบ่อย ๆ และคนที่ออกกำลังกายหักโหมมาเกินไป คนที่มีอาการเหล่านี้บ่งบอกถึงอาการเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนหรือ กระดูกหักได้ง่าย   ลักษณะของโรคกระดูกพรุน โรคหัวกระดูกข้อสะโพกตาย เกิดจากหัวของกระดูกข้อสะโพกที่มีลักษณะเป็นทรงกลมขยับอยู่ในเบ้าเกิดตาย เนื่องจากหลอดเลือดที่หล่อเลี้ยงกระดูกเกิดการฉีกขาดจึงไม่สามารถลำเลียงสาร อาหารไปหล่อเลี้ยงกระดูกได้ ทำให้กระดูกอ่อนแอจนตายไปในที่สุด เมื่อเกิดการขยับรุนแรงข้อกระดูกบริเวณที่ตายจะทรุดตัวลง กลุ่มที่เสี่ยงต่อโรคกระดูกหักที่พบและเป็นอันตรายมากที่สุดคือ กลุ่มผู้สูงอายุที่กระดูกหักบริเวณสะโพกเพราะผู้สูงอายุมักมีโรคประจำตัว และมักเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด รองลงมาคือการหักของกระดูกบริเวณสันหลัง  เมื่อกระดูกพรุนและได้รับการกระแทกแรงๆ ให้กระดูกทรุดตัวลงทีละน้อย ทำให้มี อาการปวดหลัง กระดูกบริเวณข้อมือหักบ่อยซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากที่ล้มแล้ว เอามือค้ำยันทำให้กระดูกข้อมือที่รับน้ำหนักหักได้      วิธีการรักษา หัวกระดูกข้อต่อสะโพกตาย สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ทุก 30 วินาทีทั่วโลกจะมีคน 1 คนที่กระดูกหักจากภาวะโรคกระดูกพรุน 1 ใน 3 ของผู้หญิง และ 1 ใน 8 ของผู้ชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนได้      รู้ไว้ ไกลโรค โรคกระดูกพรุน หรือกระดูกหัก สามารถป้องกันได้ โดยรับประทานอาหารที่มี แคลเซียมปริมาณสูง [...]

มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม วิธีรักษา ข้อควรระวัง และลักษณะของโรค

มะเร็งเต้านม โรคมะเร็งเต้านมเกิดจากเนื้อเยื่อของเต้านมมีการเปลี่ยนแปลง เป็นเซลล์มะเร็งซ ึ่งอาจจะกิดเป็นมะเร็งเต้านมที่เกิดกับท่อน้ำนม หรือมะเร็งเต้านมที่เกิดกับต่อมน้ำนม มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อย ดังนั้นท่านผู้อ่านที่เป็นหญิงหรือชายควรจะตรวจเต้านมตัวเอง มะเร็งคืออะไร ร่างกายของคนเรา ประกอบไปด้วยเซลล์จำนวนมาก โดยมีการแบ่งตัว ตามความต้องการของร่างกาย เช่นเซลล์เม็ดเลือดแดงจะมีการผลิตเพิ่มเมื่อร่างกายเราเสียเลือด ผลิตเม็ดเลือดขาวเพิ่มเมื่อร่างกายเราติดเชื้อ แต่เซลล์ที่สร้างโดยที่ร่างกายเราไม่สามารถควบคุมได ้เราเรียกว่าเนื้องอก Tumor ซึ่งแบ่งเป็น Benign และ Malignant Benign tumor คือเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง เนื้องอกจะไม่แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย ตัดออกแล้วจะไม่เป็นซ้ำ เช่น fibroadenoma,cyst,fibrocystic disease Malignant tumor เซลล์จะแบ่งตัวไม่หยุด ร่างกายเราไม่สามารถควบคุมการแบ่งตัว เซลล์จะแพร่กระจายไปยังอวัยวะใกล้เคียงและแพร่ไปยังอวัยวะอื่นๆ โดยอาจจะไปตามกระแสเลือด หรือทางน้ำเหลือง เราเรียกการแพร่กระจายว่า Metastasis อาการของมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านมมักจะไม่มีอาการอะไร โดยมากมักจะรู้ได้โดย คลำได้ก้อนที่เต้านมหรือรักแร้ มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของเต้านม มีน้ำไหลออกจากหัวนม เจ็บ หรือหัวนมถูกดึงรั้ง ผิวเต้านมจะเหมือนเปลือกส้ม มาป้องกันมะเร็งกันเถอะ สาเหตุของมะเร็งเต้านมยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่การปฎิบัติตัวที่ดีจะลดการเกิดมะเร็งเต้านม เปลี่ยนแปลงอาหาร เช่นลดพวกเนื้อสัตว์ลง ลดอาหารไขมัน เลือกรับประทานอาหารผักหรือผลไม้ ควบคุมน้ำหนักมิให้อ้วน [...]

โรคมะเร็งรังใข่

มะเร็งรังไข่ ลักษณะและวิธีรักษาโรคมะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่, สาเหตุ, อาการ, การรักษา                 มะเร็งรังไข่ (Ovary Cancer)      มะเร็งรังไข่เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับห้าของมะเร็งที่พบในสุภาพสตรี และอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับสี่     รังไข่ OVARY      อวัยวะสืบพันธ์ในผู้หญิงประกอบไปด้วยรังไข่ (Ovary) ลักษณะวงรี โดยมีท่อรังไข่ที่เรียกว่า Fallopian tube ยื่นออกมาจากมดลูก Uterus หรีอ Womb ซึ่งต่อมาจากช่องคลอด รังไข่และท่อรังไข่จะอยู่ในช่องเชิงกราน Pelvic ซึ่งนอกจากจะมีอวัยวะสืบพันธ์ผู้หญิงแล้วยังมีอวัยวะที่สำคัญ เช่น กระเพาะปัสสาวะ Bladder ลำไส้ใหญ่ Rectum ต่อมน้ำเหลือง      ทุกๆเดือนรังไข่ข้างหนึ่งของหญิงวัยเจริญพ้นธ์จะผลิตไข่ขึ้นมาหนึ่งฟอง ไข่จะเคลื่อนไปตามท่อรังไข่และเข้าสู่มดลูก หากไข่ไม่ได้รับการผสมก็จะถูกขับออก      รังไข่นอกจากสร้างไข่แล้วยังผลิตฮอร์โมนเพศหญิงที่ชื่อว่า oestrogen and progesterone     เนื้องอกของรังไข่ เนื้องอกของรังไข่แบ่งอกเป็นชนิดใหญ่ 2 ชนิดคือ เนื้องอกที่ธรรมดา หรือที่เรียกว่า benign tumor เนื้องอกชนิดนี้จะไม่แพร่กระจายการรักษาทำได้ง่าย ผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกออกก็หาย [...]

มะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่ ลักษณะและวิธีการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่ ลักษณะและวิธีการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ณรงค์ อายุ 45 ปี เป็นเจ้าของร้านกาแฟแห่งหนึ่งใจกลางเมือง สิ่งที่โปรดปรานที่สุดคือเรื่องสุขภาพ เวลาว่างจะหาหนังสือเกี่ยวกับการแพทย์มานั่งอ่านอยู่เป็นประจำ นอกจากนี้เขายังให้ความใส่ใจกับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ปีละ 1 ครั้ง และผลการตรวจก็ไม่พบอะไรผิดปกติ นอกจากคอเลสเตอรอลสูง แพทย์จึงแนะนำให้ดูแลเรื่องอาหาร และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ เขามีอาการแน่นท้องและผายลม ผ่านไป 3 เดือน อาการแน่นท้องก็ยังคงเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว แต่เมื่อนึกถึงคำพูดหมอว่าไม่มีความผิดปกติใด ๆ เขาจึงไม่ไปโรงพยาบาล แต่แล้วเขากลับรู้สึกเสียดท้องด้านขวา จึงได้เข้าไปหาข้อมูลทางการแพทย์ในอินเทอร์เน็ตเพื่อตรวจสอบดูว่าอาการปวด เสียดท้องนั้นเป็นอาการเริ่มต้นของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เหมือนพ่อของเขาหรือ ไม่ และพบว่าอาการสำคัญคือ ต้องมีเลือดปนอุจจาระ เขาจึงเริ่มสังเกตอุจจาระตัวเอง โชคดีที่ไม่มีเลือดปนออกมา ทว่าเขาก็ยังคงมีอาการปวดท้องอยู่ 2 เดือนต่อมา เขาเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ในที่สุดณรงค์ก็เริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติของร่างกายจึงรีบมาตรวจที่โรง พยาบาล และผลก็ออกมาดังที่คิด เขาป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ณรงค์จะสามารถมีชีวิตต่อไปได้หรือไม่! กลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ คนที่ไม่บริโภคผัก ผลไม้ การขับถ่ายไม่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำ ดื่มน้ำน้อยท้องผูกเป็นประจำ หรือบุคคลที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการที่พึงระวัง คนที่เป็นมะเร็งหลายคนคิดว่าตนเองร่างกายแข็งแรง ดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอและไปตรวจร่างกายเป็นประจำดังนั้น นอกจากการออกกำลังกายและรับประทานอาหารแล้ว [...]

มะเร็งหลอดอาหาร

โรคมะเร็งหลอดอาหาร ลักษณะและวิธีป้องกันโรค

โรคมะเร็งหลอดอาหาร ลักษณะและวิธีป้องกันโรค   กลุ่มเสี่ยง โรคมะเร็งหลอดอาหารเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะคนอ้วน ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารที่มีไขมันมากและขาดการออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ รวมถึงคนทั่วไปเมื่อรับประทานอาหารอิ่มแล้วเรอก็จะรู้สึกสบายท้องจึงคิดว่า เป็นเรื่องดี แต่อาจเป็นอาการบ่งบอกถึงความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งหนึ่งในความผิดปกติเหล่านั้นคือโรคมะเร็งหลอดอาหาร ส่วนใหญ่จะเป็นในคนที่มีอายุมากตั้งแต่ 60-70 ปีขึ้นไป พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง และเชื้อชาติก็มีส่วนสำคัญโดยโรคมะเร็งหลอดอาหาร พบมากในแถบภาคกลางของจีน อิหร่านและตุรกี อาการที่พึงระวัง หากเคยมีอาการเหล่านี้ เช่น กลืนอาหารแล้วติด กลืนลำบาก เรอหรือสำรอกหลังจากรับประทานอาหารเสร็จบ่อยๆ จนบางครั้งมีอาหารจากกระเพาะล้นกลับมาถึงคอ จนรู้สึกเปรี้ยว หากมีอาการผิดปกติดังกล่าวเกิดขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน ลักษณะของ โรคมะเร็งหลอดอาหาร การรับประทานอาหารอย่างรีบเร่งจะทำให้มีอากาศเข้าไปพร้อม ๆ กับอาหารซึ่งร่างกายจะขับอากาศออกมาด้วยการเรอ และการรับประทานอาหารที่มากเกินควร ทำให้น้ำย่อยต้องหลั่งออกมาในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นด้วย ยิ่งคนที่มีรูปร่างอ้วน ไขมันที่สะสมอยู่บริเวณรอบๆ ช่องท้องจะช่วยดันเอาน้ำย่อยในช่องท้องไหลย้อนกลับขึ้นไปยังหลอดอาหาร โดยเฉพาะเวลาที่นั่งยอง ๆ หรือเวลารัดเข็มขัดแน่นๆ จะยิ่งเป็นการผลักไขมันให้ดันน้ำย่อยขึ้นไปตามหลอดอาหาร ทั้งนี้การนอนหลับทันทีหลังรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม จะทำให้น้ำย่อยย้อนกลับขึ้นไปตามหลอดอาหาร ทำให้หลอดอาหารเกิดการอักเสบ และมีอาการหน้าอกแสบร้อนขึ้นเมื่อการอักเสบเรื้อรังนานไปก็จะกลายเป็นเนื้อ งอกเกิดขึ้นบริเวณหลอดอาหาร เหมือนกับเนื้อเยื่อในช่องท้อง ซึ่งเป็นอาการของโรคมะเร็งหลอดอาหารนั่นเอง โดยผู้ป่วยจะมีอาการแน่นหน้าอก หลังจากกลืนอาหารและจะกลืนลำบาก เนื่องจากหลอดอาหารจะมีลักษณะแคบลงจากการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ทำให้อาหารที่ทานเข้าไปผ่านไปได้ยาก จนอุดกั้นทางเดินของลมหายใจ [...]

ควันบุหรี่มือสอง เสี่ยงเป็นมะเร็งปอด

มะเร็งปอดชนิดหนึ่ง ลักษณะและวิธีการรักษาโรคมะเร็งปอด

มะเร็งปอด   โรคมะเร็งปอดเป็นโรคที่เกิดจากเซลล์ของปอด เช่น เนื้อปอด หลอดลมกลายเป็นเซลล์มะเร็ง โรคมะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่พบบ่อย หากตรวจพบเร็วสามารถรักษาให้หายขาดได้ มะเร็งคืออะไร ร่างกายประกอบด้วยเซลล์เป็นจำนวนมาก ปกติเซลล์จะแบ่งตัวตามความต้องการของร่างกาย เช่น มีการผลิตเม็ดเลือดแดงเพิ่มเมื่อมีการเสียเลือด มีการผลิตเม็ดเลือดข้าวเพิ่มเมื่อมีการติดเชื้อ เป็นต้น แต่มีเซลล์ที่แบ่งตัวโดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ทำให้เกิดเป็นเนื้องอก ซึ่งแบ่งเป็น Benign และ Malignant Benign tumor คือเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งสามารถตัดออกและไม่กลับเป็นใหม่ และที่สำคัญไม่สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น Malignant tumor เซลล์จะแบ่งตัวทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะใกล้เคียง ที่สำคัญสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นที่อยู่ไกลโดยไปตามกระแสเลือด และน้ำเหลืองเรียกว่า Metastasis ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด ส่วนใหญ่พบร่วมกับการสูบบุหรี่ สูบบุหรี่ จำนวนปีที่สูบ อายุที่เริ่มสูบ จำนวนบุหรี่ที่สูบ สูบแต่ละครั้งลึกแค่ไหน ทั้งหมดเป็นปัจจัยที่จะทำให้มีโอกาสเกิดมะเร็งปอด สูบ cigars และ pipes ผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมของผู้สูบบุหรี่ สัมผัสสาร Randon เป็นแก็สที่ไม่มีกลิ่น ซึ่งพบได้ตามดินและหิน ผู้ป่วยทีทำงานเหมืองจะมีโอกาสเสี่ยง ใยหิน Asbestos ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับเหมืองใยหินมีโอกาสเสี่ยงต่อมะเร็งปอด ควันจากการเผาไหม้น้ำมัน และถ่านหิน โรคปอด โดยเฉพาะวัณโรคมะเร็งจะเกิดบริเวณที่เป็นแผลเป็นวัณโรค [...]

Page 4 of 41234