มะเร็งรังไข่ ลักษณะและวิธีรักษาโรคมะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่, สาเหตุ, อาการ, การรักษา

มะเร็งรังไข่ ลักษณะและวิธีรักษาโรคมะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ ลักษณะและวิธีรักษาโรคมะเร็งรังไข่

               
ะเร็งรังไข่ (Ovary Cancer)

     มะเร็งรังไข่เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับห้าของมะเร็งที่พบในสุภาพสตรี และอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับสี่

    รังไข่ OVARY

ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ มะเร็งรังไข่     อวัยวะสืบพันธ์ในผู้หญิงประกอบไปด้วยรังไข่ (Ovary) ลักษณะวงรี โดยมีท่อรังไข่ที่เรียกว่า Fallopian tube ยื่นออกมาจากมดลูก Uterus หรีอ Womb ซึ่งต่อมาจากช่องคลอด รังไข่และท่อรังไข่จะอยู่ในช่องเชิงกราน Pelvic ซึ่งนอกจากจะมีอวัยวะสืบพันธ์ผู้หญิงแล้วยังมีอวัยวะที่สำคัญ เช่น กระเพาะปัสสาวะ Bladder ลำไส้ใหญ่ Rectum ต่อมน้ำเหลือง

     ทุกๆเดือนรังไข่ข้างหนึ่งของหญิงวัยเจริญพ้นธ์จะผลิตไข่ขึ้นมาหนึ่งฟอง ไข่จะเคลื่อนไปตามท่อรังไข่และเข้าสู่มดลูก หากไข่ไม่ได้รับการผสมก็จะถูกขับออก

     รังไข่นอกจากสร้างไข่แล้วยังผลิตฮอร์โมนเพศหญิงที่ชื่อว่า oestrogen and progesterone

    เนื้องอกของรังไข่

เนื้องอกของรังไข่แบ่งอกเป็นชนิดใหญ่ 2 ชนิดคือ

  • เนื้องอกที่ธรรมดา หรือที่เรียกว่า benign tumor เนื้องอกชนิดนี้จะไม่แพร่กระจายการรักษาทำได้ง่าย ผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกออกก็หาย
  • เนื้อมะเร็ง Malignant เนื้องอกชนิดนี้อาจจะเรียกเนื้อร้ายหรือมะเร็งหากวินิจฉัยได้ช้าเนื้อร้ายจะแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น

ชนิดของมะเร็งรังไข่

ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ มะเร็งรังไข่มะเร็งรังไข่จะเกิดเซลล์ที่เป็นส่วนประกอบของรังไข่

  • Epithelial tumor เป็นเนื้องอกที่เกิดจากเซลล์ผิวของรังไข่ เนื้องอกส่วนใหญ่เกิดจากเซลล์ชนิดนี้
  • Germ cell tumor เป็นมะเร็งที่เกิดเซลล์ที่ผลิตไข่
  • Stroma tumor เป็นเนื้องอกที่เกิดเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งสร้างฮอร์โมนเพศ estrogen และ progesteron

มะเร็งรังไข่ส่วนใหญ่เกิดจากเซลล์ที่เรียกว่า epithelial cell ซึ่งเป็นเซลล์ที่อยู่เปลือกนอก และยังแบ่งเป็น

  • serous
  • mucinous
  • endometrioid
  • clear cell
  • undifferentiated or unclassifiable

ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งชนิดไหนการรักษาก็ไม่ต่างกัน

     ระยะของมะเร็งรังไข่

การพิจารณาให้การรักษาแพทย์จะพิจารณาจากระยะของโรค ซึ่งแบ่งออกเป็น

  • Borderline tumours เป็นมะเร็งที่อยู่เฉพาะในรังไข่ รูปร่างของเซลล์มะเร็งจะคล้ายเซลล์ปก(low grade) การรักษาจะใช้วิธีผ่าตัดซึ่งให้ผลหายขาด
  • มะเร็งในระยะที่1มะเร็งอยู่ในเฉพาะรังไข่
  • Stage 1 หมายถึงมะเร็งอยู่ในรังไข่
  • Stage 1a เนื้อมะเร็งอยู่ที่รังไข่ 1 ข้าง
  • Stage 1b มะเร็งอยู่ที่รังไข่ 2 ข้าง.และยังไม่ออกนอกรังไข่
  • Stage 1cมะเร็งอยู่ในรังไข่ข้างใดข้างหนึ่งหรือสองข้างร่วมกับ
    • มะเร็งอยู่ที่ผิวของรังไข่
    • หากมะเร็งเป็นถุงน้ำและถุงน้ำแตกออก
    • พบเซลล์มะเร็งในช่องท้อง
  • Stage 2มะเร็งอยู่ข้างหนึ่งหรือสองข้างและแพร่กระจายไปยังอวัยวะข้างเคียงเช่น ช่องคลอด ท่อรังไข่ กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ใหญ่
    • Stage 2a มะเร็งลุกลามเข้าอวัยวะสืบพันธ์เช่น vagina, มดลูก ท่อรังไข่fallopian tubes.
    • Stage 2b มะเร็งลามเข้าอวัยวะช่องเชิงกรานเช่น กระเพาะปัสสาวะ bladderแต่ยังไม่ลามไปยังอวัยวะในช่องท้อง
    • Stage 2cมะเร็งได้แพร่กระจายในช่องท้อง
  • Stage 3 มะเร็งอยู่ในรังไข่ มะเร็งลามเข้ายังอวัยวะในช่องท้อง เช่นต่อมน้ำเหลือง ลำไส้
  • Stage 3a มะเร็งที่แพร่กระจายมีขนาดเล็กมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า. แต่ส่องกล้องพบเซลล์มะเร็ง
  • Stage 3b มะเร็งมีขนาดเล็กกว่า 2 เซ็นติเมตร
  • Stage 3c มะเร็งมีขนาดมากกว่า 2 เซ็นติเมตร
  • Stage 4 มะเร็งแพร่กระจายไป ปอด สมอง

Grading

หมายถึงลักษณะของเซลล์มะเร็งที่มองด้วยกล้องจุลทัศน์ซึ่งจะบ่งบอกว่าเซลล์มะเร็งมีแนวโน้มว่าจะแพร่กระจายได้ง่ายหรือยา

  • Low-grade หมายถึงเซลล์มะเร็งที่มีรูปร่างเหมือเซลล์ปกติ ชนิดนี้มีการแพร่กระจายต่ำ
  • Moderate-grade หมายถึงเซลล์ทีผิดปกติมากกว่าแบบแรก
  • High-grade เซลล์มีความผิดปกติมากและมีการเจริญเติบโตเร็วและแพร่กระจายได้ง่าย

    สาเหตุของมะเร็งรังไข่

    สาเหตุของโรคมะเร็งรังไข่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งรังไข่ แต่พบว่ามีความถี่ของการเกิดมะเร็งในคนที่โสดมากกว่าคนที่เคยมีบุตร และมักจะเกิดตอนวัยทอง คนที่มีปัจจัยเสี่ยงมากมิได้หมายความเขาจะเป็นมะเร็ง แต่เขามีโอกาศเกิดมะเร็งมากกว่าคนอื่ น ปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ

    1. พันธูกรรมมีผลต่อการเกิดมะเร็งรังไข่หรือไม่

    ท่านที่มีญาติเป็นมะเร็งก็กังวลว่าท่านจะมีพันธุกรรมของมะเร็งด้วยหรือไม่ ให้ท่านไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับพันธุกรรมเพื่อซักประวัติเกี่ยวกับโรคมะเร็งในครอบครัว หากพบว่าท่านมีความเสี่ยงแพทย์จะแนะนำท่านตรวจคัดกรองหาโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก ความเสี่ยงทางพันธุกรรมได้แก่

    • ญาติสายตรงของท่าน(แม่ หรือพี่สาว หรือน้องสาว)เป็นมะเร็งรังไข่ 2 คน
    • ญาติสายตรงคนหนึ่งเป็นมะเร็งรังไข่ อีกคนเป็นมะเร็งเต้านม ซึ่งเกิดก่อนอายุ50 ปี
    • ญาติสายตรงเป็นมะเร็งรังไข่ และประวัติคนในครอบครัว 2 คนเป็นมะเร็งเต้านมก่อนอายุ 60 ปี
    • คนในครอบครัว 3 คนเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่(หนึ่งคนเป็นก่อนอายุ 50) และมีคนในครอบครัวคนหนึ่งเป็นมะเร็งรังไข่
    1. อายุ อายุมากจะเสี่ยงต่อการเกิดมากโดยเฉพาะอายุมากกว่า 50 ปี
    2. ผู้หญิงที่มีประจำเดือนอายุน้อกว่า 12 ปี และไม่ได้ตั้งครรภ์ และเกิดหมดประจำเดือนหลังอายุ 50 ปี จะเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง
    3. การตั้งครรภ์ พบว่าผู้ที่ไม่เคยมีบุตรจะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งสูงกว่าคนที่เคยมีบุตร
    4. ผู้ที่เคยเป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่จะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่
    5. ยากระตุ้นให้ไข่ตกก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิโรค
    6. หลายการศึกษาพบว่าการใช้แป้งบริเวณอวัยวะเพศเป็นเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่ แต่แป้งสมัยก่อนอาจจะมีสารปนเปื้อน
    7. การใช้ฮอร์โมนทดแทนในวัยทองก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่

    หากท่านมีประวัติเหมือนตัวอย่างข้างต้นให้ปรึกษาแพทย์ของท่านเพื่อคัดกรองโรค หลายท่านที่มีความเสี่ยงว่าจะเกดมะเร็งรังไข่อยากจะตัดรังไข่ทิ้ง ท่านต้องปรึกษาแพทย์พิจารณาถึงผลดีและผลเสียของการผ่าตัด

    เราจะลดควางเสียงของการเกิดมะเร็งรังไข่ได้หรือไม่

    มีวิธีการที่จะลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งรังไข่แต่ก็ได้ผลมากบ้างน้อยบ้าง

    • การรับประทานยาคุมกำเนิดโดยเฉพาะผู้ที่รับประทานยาคุมมานาน
    • การทำหมันหลังคลอดหรือการตัดมดลูกจะลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งรังไข่
    • การตั้งครรภ์โดยเฉพาะขณะตั้งครรภอายุน้อยกว่า 30 ปีและเลี้ยงลูกด้วยนมตัวเองเป็นเวลานาน
    • การรับประทานอาหารมันจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่ จากการศึกษาของสมาคมโรคหัวใจพบว่าคนอ้วนจะเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งรังไข่มากกว่าคนผอมร้อยละ50
    • การผ่าตัดเอารังไข่ออกเพื่อป้องกันจะกระทำในผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อมะเร็งรังไข่แต่ก็ไม่สามารถป้องกันได้ทั้งหมด

    การค้นหามะเร็งรังไข่แรกเริ่ม

    ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ มะเร็งรังไข่โรคมะเร็งทุกชนิดจะเหมือนกันยิ่งพบเร็วการรักษาก็จะได้ผลดี มะเร็งรังไข่ก็เช่นกัน แต่มะเร็งรังไข่มักจะวินิจฉัยได้ช้าเนื่องอยู่ภายในช่องท้อง และมักจะไม่มีอาการในระยะแรกของโรค ผู้ป่วยร้อยละ25จะวินิฉัยมะเร็งรังไข่ได้ก่อนที่มะเร็งจะแพร่กระจาย การค้นพบแรกเริ่มจะเพิ่มโอกาศในการรักษาให้หายขาด วิธีการค้นหามะเร็งแรกเริ่มได้แก่

    • การตรวจภายในประจำปี การตรวจภายในจะค้นหามะเร็งปากมดลูก แต่ไม่สามารถตรวจมะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มแรกได้ มักจะพบมะเร็งรังไข่ในระยะท้านของโรค แต่การตรวจภายในก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องตรวจเป็นประจำมีคำแนะนำให้เริ่มตรวจตั้งแต่อายุมากกว่า 18 ปี
    • พบแพทย์เมื่อมีอาการ อาการที่ควรจะพบแพทย์โดยเร็วได้แก่ ท้องบวม แน่นท้อง เลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ แน่นท้องน้อย ปวดหลัง ปวดขา ปวดท้อง แน่ท้องโดยที่หาสาเหตุไม่ได้
    • การเจาะเลือดหรือการตรวจพิเศษ การตรวจ ultrasound ผ่านทางช่องคลอดจะช่วยพบก้อนในช่องเชิงกรานได้เร็วขึ้น การเจาะเลือดหา CA-125 ก็ยังไม่สามรถบอกมะเร็งในระยแรกเริ่มได้จึงไม่แนะนำการตรวจพิเศษทั้งสองแก่คนทั่วไป
      • เจาะเลือดตรวจหา CA 125CA 125 ซึ่งหากเป็นมะเร็งค่านี้จะสูง แต่ก็พบว่าผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งค่านี้สูงไม่มาก
      • การทำ ultrasound ผ่านทางช่องคลอด ซึ่งจะใช้เครื่อง ultrasound สอดเข้าไปในช่องคลอดซึ่งจะปล่อยคลื่นเสียงความถี่สูง เมื่อคลื่นเสียงกระทบกับวัตถุ คลื่นเสียงจะสะท้อนกลับเครื่องจะแปลงคลื่นเสียงเป็นสัญญาณภาพ ระหว่างการตรวจไม่มีความเจ็บปวด

    เท่าที่มีรายงานพบว่าการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหามะเร็งรังไข่ในระยะแรกเริ่มยังให้ผลไม่ดี หากท่านมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งรังไข่กรุณาแจ้งต่อแพทย์ที่ดูแลตัวท่าน

    อาการของมะเร็งรังไข่

    อาการของมะเร็งรังไข่ในระยะแรกเริ่มมักจะไม่มีอาการ แต่จะมีอาการในระยะท้ายของโรคมะเร็งรังไข่อาการพบได้ 

    • แน่นท้อง อึกอัดท้อง(บางรายสวสัยว่ามีก๊าซในท้อง)
    • คลื่นไส้อาเจียน ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย
    • เบื่ออาหาร
    • รู้สึกแน่ท้องหลังจากรับประทานอาหาร
    • น้ำหนักขึ้นโดยไม่มีเหตุผล
    • เลือดออกช่องคลอด

    หากท่านมีอาการเหล่านี้ควรจะปรึกษาแพทย์

    การตรวจวินิจฉัยเพื่อวินิจฉัยโรคมะเร็งรังไข่

    • การตรวจภายในซึ่งสามารถตรวจ มดลูก รังไข่ ช่องคลอด ลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง
    • การตรวจ ultrasound ซึ่งใช้คลื่นเสียงความถี่สูงตรวจอวัยวะช่องเชิงกราน
    • การตรวจ CT Scan
    • การตรวจโดยการตัดเนื้อเยื่อ
    • การเจาะเอาน้ำในช่องท้องไปตรวจ แพทย์จะฉีดยาชาที่หน้าท้อง และใช้เข็มเล็กๆดูดเอาของเหลวในท้องเพื่อส่งตรวจหาเซลล์มะเร็ง
    • การส่องกล้องเข้าทางช่องท้อง (Laparoscope) แพทย์จะวางยาสลบ กรีดแผลประมาณ 1 เซ็นติเมตร และสอดกล้องตัวเล็กๆเข้าไปในช่องท้อง เพื่อดูอวัยวะในช่องท้อง

      การรักษามะเร็งรังไข่

      การรักษาโรคมะเร็งรังไข่มีหลายวิธีขึ้นกับระยะของโรค สภาพโดยรวมของผู้ป่วย ซึ่งการรักษาจะประกอบไปด้วยแพทย์หลายแผนก เช่น สูตินรีแพทย์ แพทย์ทางรังสีรักษา แพทย์ทางเคมีบำบัด

      การรักษาโดยการผ่าตัด

      เหตุผลของการผ่าตัด

      การผ่าตัดผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งรังไข่มีเหตุผลคือ

      1. ผ่าตัดเพื่อการวินิจฉัยโรค โดยแพทย์จะผ่าเข้าไปดูเนื้องอกและตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจ
      2. ผ่าตัดเพื่อบอกระยะของโรคโดยแพทย์จะผ่าเข้าดูว่าเนื้องอกลุกลามไแแค่ไหน และตัดต่อมน้ำเหลืองเพื่อชิ้นเนื้อ
      3. ผ่าตัดเพื่อการรักษา

      แพทย์จะผ่าตัดเอา มดลูก ท่อรังไข่ รังไข่ ออก เรียกการผ่าตัดว่า hysterectomy with bilateral salpingo-oophorectomy และตัดต่อมน้ำเหลืองไปตรวจ ระหว่างการผ่าแพทย์จะส่งชิ้นเนื้อของต่อมน้ำเหลือง และน้ำในช่องท้องไปตรวจเพื่อจะได้ทราบระยะของโรค หากพบว่ามะเร็งเริ่มแพร่กระจายในท้อง แพทย์จะผ่าเอาส่วนที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งออกให้มากที่สุดเพื่อที่จะให้การรักษาด้วยรัสีหรือเคมีได้ผลดีขึ้น

      ผลเสียของการรักษาโดยการผ่าตัดในระยะแรกก็อาจจะปวดแผลบ้างแต่ก็บรรเทาโดยยาแก้ปวด ในระยะต่อมาเมื่อรังไข่ถูกตัดก็ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนเพศ(estrogen,progesterone) ก็ทำให้ช่องคลอดแห้ง ร้อนตามตัวเกิดอาการของคนวัยทอง

      คมีบำบัด

      คือการให้ยาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งซึ่งยานี้ก็มีผลต่อเซลล์ปกติของร่างกาย

      จะให้เคมีบำบัดเมื่อไร

      การให้เคมีบำบัดมีด้วยกัน 2 วิธีกล่าวคือ

      • การให้เคมีหลังการผ่าตัดเราเรียกว่า adjuvant chemotherapy จะให้ยา 4-6 ครั้งใช้เวลา 3-6 เดือนแพทย์จะพิจารณาให้ในกรณีที่แพทย์คิดว่าผ่าตัดเอาเนื้อร้ายออกไม่หมด หรือการผ่าตัดนั้นยาก
      • ให้เคมีก่อนผ่าตัดเรียก neo-adjuvant chemotherapy. แพทย์คิดว่าเนื้อร้ายก้อนใหญ่ผ่ายากหรือผ่าออกไม่หมดแพทย์จะให้เคมีเพื่อก้อนจะได้มีขนาดเล็กลง

      ะให้ยาเคมีอย่างไร

      ยาเคมีมีทั้งชนิดรับประทานและชนิดฉีดซึ่งส่วนใหญ่ใช้ชนิดฉีด แต่ก็มีการให้เคมีเข้าช่องท้องซึ่งอยู่ในช่วงการทดลอง

      หลังจากให้เคมีบำบัดแพทย์อาจจะผ่าเข้าช่องท้องเพื่อดูว่ามะเร็งถูกทำลายมากน้อยแค่ไหน หากมีมะเร็งหลงเหลือแพทย์จะผ่าตัดเอามะเร็งส่วนที่เหลือออก

      ผลเสียของรักษาด้วยวิธีนี้ขึ้นกับชนิดของยา และปริมาณยา ผลข้างเคียงที่พบได้คือ คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง เบื่ออาหาร ผมร่วง

      การฉายแสง

      แพทย์จะใช้รังสีฉายไปยังส่วนที่เป็นมะเร็งเพื่อทำลายมะเร็ง ผลเสียคืออ่อนเพลีย น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ปัสสาวะลำบาก การให้รังสีรักษามีสองวิธีคือ

      1. การให้รังสีจากเคื่องที่อยู่ภายนอกร่างกาย External beam radiation therapy โดยจะให้รังสีสัปดาห์ละห้าวัน
      2. Brachytherapy คิอการฝังสารที่ให้รังสีใกล้กับมะเร็ง เพื่อให้รัสีทำลายเซลล์มะเร็ง

      แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้รังสีในการรักษามะเร็งรังไข่

Advertisement

1 Comment

  1. rolex Replica พูดว่า:

    I am continuously searching online for tips that can help me. Thx!

Leave a Reply to rolex Replica

 

— required *

— required *